รูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตและสัดส่วนกับนาฏยศิลป์

ผู้แต่ง

  • ธนกร สรรย์วราภิภู 0861924519

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.48

คำสำคัญ:

เรขาคณิต, สัดส่วน, นาฏยศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตและสัดส่วน แล้วนำมาพิจารณาสร้างงานนาฏยศิลป์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าเอกสาร หนังสือ งานศึกษา ที่มีความเกี่ยวเนื่อง สังเกต การสัมภาษณ์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏยศิลป์อีกทั้งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับทั้งด้านวิชาการ จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทดลองสร้างงานนาฏยศิลป์ จำนวน 2 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า

            การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของสัดส่วนในรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตกับนาฏยศิลป์ทั้งเส้น และพื้นที่ว่าง ความเชื่อมโยงรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตและสัดส่วนกับนาฏยศิลป์มีความเกี่ยวเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีศิลปินใช้หลักการนี้ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์อย่างต่อเนื่อง การพิจารณาในประเด็นเรื่องรูปร่างรูปทรงเรขาคณิตและสัดส่วนกับงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับค่านิยม บริบทในสภาพแวดล้อมที่ดำเนินอยู่ ณ ขณะนั้น แสดงให้เห็นถึงเอกภาพของชิ้นงานแต่ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดองค์ประกอบด้านเรขาคณิต ด้วยการอาศัยอุดมคติความงามในยุคสมัยนั้น ๆ ที่บ่งบอกถึงความรู้สึกด้านสุนทรียภาพที่ซ่อนอยู่ในการแสดงออกผ่านการจัดวางหาความเหมาะสมด้านสัดส่วนของผลงานชิ้นนั้นที่มีอยู่ในศิลปะแขนงหรือศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์ซึ่งรวมถึงความเกี่ยวข้องกับนาฏยศิลป์

References

Charassri, N. (Fuburary 7, 2017). Professor at Dance Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. Interview. (In Thai)

Charassri, N. (June 9, 2017). Professor at Dance Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. Interview. (In Thai)

Charassri, N. (March 28, 2017). Professor at Dance Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. Interview. (In Thai)

Furaj, S. (2011). Mime: The Art of Act and Movement. Bangkok : Thammasat University Publishing. (In Thai)

Kantakanis, P. (June 28, 2017). Instructor at Dance Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakorn Ratchasima Rajabhat University. Interview. (In Thai)

Maletic, V. (1987). BODY-SPACE-EXPRESSION. New York : Mouton de Gruyter.

Mohan, M. M. (2016). Mathematics of Dance. Journal of Applied & Theoretical Mathematics (OJATM), 2(4), 519-527.

Nimsamer, C. (2016). Art Element (10th ed.). Bangkok : Amarin.

Royston, D. (2014). DRAMATIC DANCE An Actor’s Approach to Dance as a Dramatic Art. London : Bloomsbury Publishing.

Smith-Autard, J. (2016). Dance composition (6th ed.). London : Bloomsbury Publishing.

Tanatanit, S. (April 30, 2018). Dancer at Grand Théâtre de Genève. Switzerland. Interview. (In Thai)

Tavavoradilok, V. (April 30, 2018). Dancer and Instructor at The Arts Fission Company. Singapore. Interview. (In Thai)

Ullmann, L. (1948). Modern Educational Dance (2nd ed.). London : Richard Clay (The Chaucer Press).

Wijnans, H. (2010). The body as a spatial sound generating instrument: defining the three dimensional data interpreting methodology (3DIM). Dissertation, Doctor of Philosophy, Bath Spa University. (England).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

สรรย์วราภิภู ธ. (2020). รูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตและสัดส่วนกับนาฏยศิลป์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 101–114. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.48